ธรรมกถึก แปลว่า ผู้สอนธรรม , ผู้แสดงธรรม , นักเทศน์ ความ หมายสูงสุด คือ ผู้แสดงธรรมเพื่อความสิ้นไปแห่งกองกิเลส ใช้เรียกภิกษุผู้แสดงธรรม เรียกเต็มๆ ว่า พระธรรมกถึก มีองค์คุณ ๕ ประการ ๑ แสดงธรรมไปตามลำดับ ไม่ตัดลัดใจความ ๒ อ้างเหตุผล แนะนำให้ผู้ฟังเข้าใจ ๓ ตั้งเมตตาจิต ปรารถนาเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง ๔ ไม่แสดงธรรม เพราะ เห็นแก่ลาภ ๕ ไม่แสดงธรรมกระทบตนและ ผู้อื่น (ไม่ยกตนเสียดสี) .. ประเภทของธรรมกถึก ๑ ธรรมกถึกบางคนกล่าวธรรมน้อย และ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๒ ธรรมกถึกบางคนกล่าวธรรมน้อย แต่ประกอบ ด้วยประโยชน์ ๓ ธรรมกถึกบางคนกล่าวธรรมมาก แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๔ ธรรมกถึกบางคนกล่าวธรรมมาก แต่ประกอบด้วยประโยชน์ .. พระปุณณมันตาณีบุตรเถระ เอตทัคคะในทางพระธรรมกถึก (นักเทศน์ฯ) คือ ท่านดำรงตนอยู่ในคุณธรรมเช่นใด ก็มีเมตตาสอนผู้อื่นให้ตั้งอยู่ในคุณธรรมเช่นนั้นฯ (ไม่หวงวิชาความรู้ , ไม่มีการทวงบุญคุณ) ฯ .. (หน้า ๑๒)